รับทำแผนการตลาด รับเขียนแผนการตลาด Writing a Marketing Plan
เราเป็นทีมงานที่มีประสบการณ์ตรงในวิชาชีพจากหลากหลายประสบการณ์ในธุรกิจ และบริษัทที่ปรึกษาธุรกิจ เอสเอ็มอี ให้บริการด้านงานที่ปรึกษาธุรกิจครบวงจร ด้าน แผนการตลาดMarketing Plan การเขียนการตลาด Marketing Master plan ด้านการวางแผนการตลาด การวางระบบและการออกแบบแผนการทำการตลาด ทุกช่องทางตลาด การจัดทำงบประมาณด้านการตลาด และการวางแผนการใช้งบประมาณ การเขียนระบบแผนงาน และ ขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านการตลาด พร้อมให้บริการท่านด้วยความเป็นมืออาชีพ ในราคามิตรภาพ
ให้บริการเว็บไซต์ที่เสนอสาระความรู้ ข้อมูลข่าวสาร ด้านธุรกิจเอสเอ็มอี SMEs และแฟรนไชส์ Franchise ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ การเริ่มต้นธุรกิจ การสร้างธุรกิจ การทำธุรกิจ และสาระน่ารู้ต่างๆ ที่ควรทราบในการประกอบธุรกิจ สำหรับนักธุรกิจ ผู้ประกอบการ SMEs และนักศึกษาฯ รวมทั้งผู้สนใจทั่วไป การเขียนแผนการตลาดและโครงการแผนการตลาด แผนการตลาด Marketing Plan เป็นเอกสารที่อธิบายถึงการวิเคราะห์สถานการณ์ กลยุทธ์การตลาด และโปรแกรมการตลาด หรือหมายถึง เครื่องมือส่วนกลางสำหรับอำนวยการและประสานงาน ส่วนประกอบ หรือโครงสร้างแผนการตลาด หรือ โครงสร้างการเขียนแผนการตลาด แต่ละบริษัทอาจจะแตกต่างกัน โดยทั่วไปแล้วจะประกอบด้วยประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. บทสรุปสำหรับผู้บริหารและเนื้อหาของแผน (executive summary)
เป็นการสรุป 2-3 หน้า เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของบริษัท และอธิบายแผนการตลาด ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่บริษัทเสนอขาย ตลาดเป้าหมายของบริษัท ระดับการขายและกำไรที่คาดว่าจะได้ และใครเป็นคู่แข่งขัน ตลอดจนกำหนดส่วนผสมทางการตลาดและกลยุทธ์ ผู้บริหารระดับสูงมักอ่านส่วนนี้ก่อน ถ้าอ่านแล้วไม่สนใจก็จะไม่อ่านแผนส่วนที่เหลือ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก
2. การวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดในปัจจุบัน (current marketing situation)
เป็นการนำเสนอข้อมูลภูมิหลังของตลาด ผลิตภัณฑ์ คู่แข่งขัน การจัดจำหน่าย และสิ่งแวดล้อมมหภาค เช่น
2.1 สถานการณ์ด้านตลาด เป็นการนำเสนอข้อมูลของตลาดเป้าหมาย ขนาด และความเติบโตของตลาด มีการแสดงให้เห็นตัวเลข หลายปีที่ผ่านมาและยังมีข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของลูกค้า การรับรู้ และแนวโน้มพฤติกรรมการซื้อ
2.2 สถานการณ์ด้านผลิตภัณฑ์ เป็นการนำเสนอยอดขายสินค้า (ในรูปจำนวนหน่วยและจำนวนเงิน) ในหลายปีที่ผ่านมา ราคา กำไรขั้นต้น และกำไรสุทธิ
2.3 สถานการณ์ด้านการแข่งขัน เป็นการระบุคู่แข่งขันรายสำคัญ (คู่แข่งขันทางตรง คู่แข่งขันทางอ้อม) ขนาดคู่แข่งขัน เป้าหมาย ส่วนครองตลาด จุดแข็งจุดอ่อน คุณภาพผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์ทางการตลาด และพฤติกรรมของคู่แข่งขัน
2.4 สถานการณ์ด้านการจัดจำหน่าย เป็นการเสนอข้อมูลเกี่ยวกับขนาด และความสำคัญของช่องทางจำหน่ายแต่ละช่องทาง
2.5 สถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมมหภาค เป็นการอธิบายแนวโน้มของสิ่งแวดล้อมมหภาคอย่างกว้าง ๆ เช่น ประชากรศาสตร์ เศรษฐกิจ เทคโนโลยี การเมือง กฎหมาย สังคมและวัฒนธรรมซึ่งสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ถือว่าเป็นโอกาสและอุปสรรคต่อการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด
3. การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis)
เป็นการระบุถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ที่กระทบต่อสายผลิตภัณฑ์
3.1 จุดแข็ง (strengths) เป็นความแข็งแกร่งที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมภายใน เช่น จุดแข็งด้านส่วนประสมการตลาด / การเงิน / การผลิต / บุคลากร / การบริหารงาน และการจัดองค์กร
3.2 จุดอ่อน (weakness) เป็นปัญหาที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมภายในด้านต่าง ๆ ของบริษัท บริษัทจะต้องหาวิธีการแก้ปัญหานั้น
3.3 โอกาส (opportunities) เป็นข้อได้เปรียบซึ่งวิเคราะห์จากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่บริษัทแสวงหาโอกาสเพื่อมากำหนดกลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมนั้น ประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมจุลภาค (ลูกค้า คู่แข่ง ผู้ผลิต คนกลาง) และสิ่งแวดล้อมมหภาค (ประชากรศาสตร์ เศรษฐกิจ เทคโนโลยี สังคมวัฒนธรรม การเมือง กฎหมายทรัพยากรธรรมชาติ)
3.4 อุปสรรค (threats) เป็นอุปสรรคที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งธุรกิจจำเป็นต้องกำหนดกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องและแก้ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
4. การกำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาด (marketing objective)
เป็นการตัดสินใจกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนการตลาด สามารถกำหนดได้ 2 ลักษณะ คือ
4.1 วัตถุประสงค์ด้านการเงิน (financial objective) เช่น ต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนของตลาดเป้าหมาย 20% ต้องการกำไรสุทธิ 10 ล้านบาทในปี 2548 ต้องการส่วนครองตลาด 30% ในปี 2550 เป็นต้น
4.2 วัตถุประสงค์ด้านการตลาด (marketing objective) เช่น วัตถุประสงค์ในการขาย การวางตำแหน่งเพื่อการแข่งขัน สร้างความภักดีในตราสินค้า สร้างการรับรู้ในตราสินค้าจาก 15% เป็น 30% เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายอีก 20% เป็นต้น
5. การกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด (marketing strategy)
5.1 STP Marketing
เป็นการแสดงว่าแผนการตลาดนั้นจะมีโปรแกรมการตลาดที่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างไร วัตถุประสงค์ : กลยุทธ์ทางการตลาด : ปฏิบัติการ : ยุทธวิธีต่าง ๆ ที่ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ใช้กับตลาดเป้าหมาย การปฏิบัติต้องตอบคำถามว่าจะทำอะไร? จะทำเมื่อใด? ใครเป็นคนทำ? ต้นทุนที่จะจ่ายเท่าไร? ผู้รับผิดชอบ : ฝ่ายที่ต้องดำเนินการ
7. งบกำไรขาดทุนโดยประมาณการ (projected profit-and-loss statements)
เป็นการสร้างงบประมาณสนับสนุนแผนการตลาด งบประมาณนี้แสดงยอดที่ได้จากการพยากรณ์ กำหนดเป็นหน่วยที่ขายได้โดยประมาณและราคาโดยเฉลี่ย การคาดคะเนงบกำไรขาดทุนนี้จะเป็นแนวทางให้ ทราบว่ารายได้ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการนำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดเป็นเท่าใด ข้อมูลเหล่านี้เป็นแนวทางในการวางแผนและการตัดสินใจลงทุน
8. การควบคุม (controls) เป็นส่วนสุดท้ายของแผนการตลาด
เป็นการตรวจสอบความก้าวหน้าของแผนวัดผลการทำงานทางการตลาดโดย ใช้การวิเคราะห์ยอดขาย กำไร ส่วนครองตลาด ฯลฯ บางบริษัทอาจบรรจุแผนฉุกเฉิน (emergency plan) ไว้ด้วยเพื่อสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การประท้วงหยุดงาน หรือ การเกิดสงครามราคา วัตถุประสงค์ของการกำหนดแผนฉุกเฉิน เพื่อกระตุ้นให้ผู้จัดการคำนึงถึงอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตล่วงหน้า การควบคุมแผนการตลาดประจำปี
เราเป็นทีมงานที่มีประสบการณ์ตรงในวิชาชีพจากหลากหลายประสบการณ์ในธุรกิจ และบริษัทที่ปรึกษาธุรกิจ เอสเอ็มอี ให้บริการด้านงานที่ปรึกษาธุรกิจครบวงจร ด้าน แผนการตลาดMarketing Plan การเขียนการตลาด Marketing Master plan ด้านการวางแผนการตลาด การวางระบบและการออกแบบแผนการทำการตลาด ทุกช่องทางตลาด การจัดทำงบประมาณด้านการตลาด และการวางแผนการใช้งบประมาณ การเขียนระบบแผนงาน และ ขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านการตลาด พร้อมให้บริการท่านด้วยความเป็นมืออาชีพ ในราคามิตรภาพ
ให้บริการเว็บไซต์ที่เสนอสาระความรู้ ข้อมูลข่าวสาร ด้านธุรกิจเอสเอ็มอี SMEs และแฟรนไชส์ Franchise ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ การเริ่มต้นธุรกิจ การสร้างธุรกิจ การทำธุรกิจ และสาระน่ารู้ต่างๆ ที่ควรทราบในการประกอบธุรกิจ สำหรับนักธุรกิจ ผู้ประกอบการ SMEs และนักศึกษาฯ รวมทั้งผู้สนใจทั่วไป การเขียนแผนการตลาดและโครงการแผนการตลาด แผนการตลาด Marketing Plan เป็นเอกสารที่อธิบายถึงการวิเคราะห์สถานการณ์ กลยุทธ์การตลาด และโปรแกรมการตลาด หรือหมายถึง เครื่องมือส่วนกลางสำหรับอำนวยการและประสานงาน ส่วนประกอบ หรือโครงสร้างแผนการตลาด หรือ โครงสร้างการเขียนแผนการตลาด แต่ละบริษัทอาจจะแตกต่างกัน โดยทั่วไปแล้วจะประกอบด้วยประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. บทสรุปสำหรับผู้บริหารและเนื้อหาของแผน (executive summary)
เป็นการสรุป 2-3 หน้า เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของบริษัท และอธิบายแผนการตลาด ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่บริษัทเสนอขาย ตลาดเป้าหมายของบริษัท ระดับการขายและกำไรที่คาดว่าจะได้ และใครเป็นคู่แข่งขัน ตลอดจนกำหนดส่วนผสมทางการตลาดและกลยุทธ์ ผู้บริหารระดับสูงมักอ่านส่วนนี้ก่อน ถ้าอ่านแล้วไม่สนใจก็จะไม่อ่านแผนส่วนที่เหลือ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก
2. การวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดในปัจจุบัน (current marketing situation)
เป็นการนำเสนอข้อมูลภูมิหลังของตลาด ผลิตภัณฑ์ คู่แข่งขัน การจัดจำหน่าย และสิ่งแวดล้อมมหภาค เช่น
2.1 สถานการณ์ด้านตลาด เป็นการนำเสนอข้อมูลของตลาดเป้าหมาย ขนาด และความเติบโตของตลาด มีการแสดงให้เห็นตัวเลข หลายปีที่ผ่านมาและยังมีข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของลูกค้า การรับรู้ และแนวโน้มพฤติกรรมการซื้อ
2.2 สถานการณ์ด้านผลิตภัณฑ์ เป็นการนำเสนอยอดขายสินค้า (ในรูปจำนวนหน่วยและจำนวนเงิน) ในหลายปีที่ผ่านมา ราคา กำไรขั้นต้น และกำไรสุทธิ
2.3 สถานการณ์ด้านการแข่งขัน เป็นการระบุคู่แข่งขันรายสำคัญ (คู่แข่งขันทางตรง คู่แข่งขันทางอ้อม) ขนาดคู่แข่งขัน เป้าหมาย ส่วนครองตลาด จุดแข็งจุดอ่อน คุณภาพผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์ทางการตลาด และพฤติกรรมของคู่แข่งขัน
2.4 สถานการณ์ด้านการจัดจำหน่าย เป็นการเสนอข้อมูลเกี่ยวกับขนาด และความสำคัญของช่องทางจำหน่ายแต่ละช่องทาง
2.5 สถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมมหภาค เป็นการอธิบายแนวโน้มของสิ่งแวดล้อมมหภาคอย่างกว้าง ๆ เช่น ประชากรศาสตร์ เศรษฐกิจ เทคโนโลยี การเมือง กฎหมาย สังคมและวัฒนธรรมซึ่งสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ถือว่าเป็นโอกาสและอุปสรรคต่อการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด
3. การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis)
เป็นการระบุถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ที่กระทบต่อสายผลิตภัณฑ์
3.1 จุดแข็ง (strengths) เป็นความแข็งแกร่งที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมภายใน เช่น จุดแข็งด้านส่วนประสมการตลาด / การเงิน / การผลิต / บุคลากร / การบริหารงาน และการจัดองค์กร
3.2 จุดอ่อน (weakness) เป็นปัญหาที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมภายในด้านต่าง ๆ ของบริษัท บริษัทจะต้องหาวิธีการแก้ปัญหานั้น
3.3 โอกาส (opportunities) เป็นข้อได้เปรียบซึ่งวิเคราะห์จากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่บริษัทแสวงหาโอกาสเพื่อมากำหนดกลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมนั้น ประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมจุลภาค (ลูกค้า คู่แข่ง ผู้ผลิต คนกลาง) และสิ่งแวดล้อมมหภาค (ประชากรศาสตร์ เศรษฐกิจ เทคโนโลยี สังคมวัฒนธรรม การเมือง กฎหมายทรัพยากรธรรมชาติ)
3.4 อุปสรรค (threats) เป็นอุปสรรคที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งธุรกิจจำเป็นต้องกำหนดกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องและแก้ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
4. การกำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาด (marketing objective)
เป็นการตัดสินใจกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนการตลาด สามารถกำหนดได้ 2 ลักษณะ คือ
4.1 วัตถุประสงค์ด้านการเงิน (financial objective) เช่น ต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนของตลาดเป้าหมาย 20% ต้องการกำไรสุทธิ 10 ล้านบาทในปี 2548 ต้องการส่วนครองตลาด 30% ในปี 2550 เป็นต้น
4.2 วัตถุประสงค์ด้านการตลาด (marketing objective) เช่น วัตถุประสงค์ในการขาย การวางตำแหน่งเพื่อการแข่งขัน สร้างความภักดีในตราสินค้า สร้างการรับรู้ในตราสินค้าจาก 15% เป็น 30% เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายอีก 20% เป็นต้น
5. การกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด (marketing strategy)
5.1 STP Marketing
- การแบ่งส่วนตลาด (segmentation)
- รูปแบบการแบ่งส่วนตลาด ความชอบเหมือนกัน / กระจัดกระจาย / เกาะกลุ่ม
- เกณฑ์การแบ่งส่วนตลาด เกณฑ์ภูมิศาสตร์ / ประชากรศาสตร์ / ลักษณะจิตวิทยา / พฤติกรรม
- การกำหนดตลาดเป้าหมาย (targeting)
- ภาพรวมกลุ่มตลาดเป้าหมาย
- พฤติกรรมผู้บริโภค
- กลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลัก
- กลุ่มลูกค้าเป้าหมายรอง
- การวางตำแหน่ง (positioning)
- การวางตำแหน่งจากลักษณะ (positioning by attribute) ผูกสินค้ากับลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ลักษณะสินค้าเชื่อถือได้ ปฏิบัติงานได้ดี
- การวางตำแหน่งจากคุณประโยชน์ (positioning by benefits) ผูกสินค้ากับคุณประโยชน์พิเศษที่ลูกค้าจะได้รับ
- การวางตำแหน่งจากการใช้ (positioning by use)
- การวางตำแหน่งโดยอิงผู้ใช้ (positioning by user)
- การวางตำแหน่งโดยอิงคู่แข่งขัน (positioning by competitor)
- การวางตำแหน่งจากคุณภาพ/ราคา (positioning by quality/price)
- กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ การกำหนดตราสินค้า (brand) คำขวัญ (slogan) โลโก้ (logo) บรรจุภัณฑ์ (packaging) ฉลาก (label)
- กลยุทธ์ราคา การกำหนดวัตถุประสงค์ นโยบาย และกลยุทธ์การตั้งราคา
- กลยุทธ์การจัดจำหน่าย การกำหนดช่องทางการจัดจำหน่าย (ช่องทางตรง ช่องทางอ้อม) ประเภทคนกลางและการควบคุมคนกลาง การปรับปรุงช่องทางการจัดจำหน่าย และการกระจายสินค้า (การขนส่ง การคลังสินค้า การควบคุมสินค้าคงเหลือ เป็นต้น)
- กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด การโฆษณา (สื่อโฆษณา งบประมาณการโฆษณา ฯลฯ) การประชา-สัมพันธ์ (การให้ข่าว การจัดเหตุการณ์พิเศษ กิจกรรมบริการชุมชน ฯลฯ) การขายโดยบุคคล (การกำหนดค่าตอบแทน การจูงใจ การควบคุม การประเมินผล ฯลฯ) การส่งเสริมการขาย (มุ่งสู่ผู้บริโภค มุ่งสู่คนกลาง มุ่งสู่พนักงานขาย) และการตลาดทางตรง (จดหมายตรง การตลาดทางโทรศัพท์ การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น)
เป็นการแสดงว่าแผนการตลาดนั้นจะมีโปรแกรมการตลาดที่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างไร วัตถุประสงค์ : กลยุทธ์ทางการตลาด : ปฏิบัติการ : ยุทธวิธีต่าง ๆ ที่ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ใช้กับตลาดเป้าหมาย การปฏิบัติต้องตอบคำถามว่าจะทำอะไร? จะทำเมื่อใด? ใครเป็นคนทำ? ต้นทุนที่จะจ่ายเท่าไร? ผู้รับผิดชอบ : ฝ่ายที่ต้องดำเนินการ
7. งบกำไรขาดทุนโดยประมาณการ (projected profit-and-loss statements)
เป็นการสร้างงบประมาณสนับสนุนแผนการตลาด งบประมาณนี้แสดงยอดที่ได้จากการพยากรณ์ กำหนดเป็นหน่วยที่ขายได้โดยประมาณและราคาโดยเฉลี่ย การคาดคะเนงบกำไรขาดทุนนี้จะเป็นแนวทางให้ ทราบว่ารายได้ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการนำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดเป็นเท่าใด ข้อมูลเหล่านี้เป็นแนวทางในการวางแผนและการตัดสินใจลงทุน
8. การควบคุม (controls) เป็นส่วนสุดท้ายของแผนการตลาด
เป็นการตรวจสอบความก้าวหน้าของแผนวัดผลการทำงานทางการตลาดโดย ใช้การวิเคราะห์ยอดขาย กำไร ส่วนครองตลาด ฯลฯ บางบริษัทอาจบรรจุแผนฉุกเฉิน (emergency plan) ไว้ด้วยเพื่อสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การประท้วงหยุดงาน หรือ การเกิดสงครามราคา วัตถุประสงค์ของการกำหนดแผนฉุกเฉิน เพื่อกระตุ้นให้ผู้จัดการคำนึงถึงอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตล่วงหน้า การควบคุมแผนการตลาดประจำปี
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น